วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

สาระสำคัญ
        ในโมเลกุลหนึ่งจะต้องมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมหรือไอออนเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า
พันธะเคมี  โดยพันธะเคมีที่ยึดเหนี่ยวอะตอมของโลหะ เรียกว่า พันธะโลหะ พันธะเคมีที่ยึดเหนี่ยว ไอออนในสารประกอบไอออนิกเรียกว่า พันธะไอออนิก และพันธะเคมีที่ยึดเหนี่ยวอะตอมในโมเลกุล เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์

จุดประสงค์การเรียนรู้

       ·    อธิบายความหมายของพันธะเคมีได้
       ·    เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพันธะเคมีแต่ละชนิดได้
       ·    สามารถบ่งบอกได้ว่าในสารประกอบหนึ่งที่กำหนดให้มีพันธะเคมีเป็นแบบใด

พันธะเคมี

พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมกับอะตอมภายในโมเลกุล เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่ทำให้เกิดโมเลกุลของสาร
กฎออกเตด ( Octet rule )

จากการศึกษาเกี่ยวกับธาตุก๊าซเฉื่อย เช่น He Ne Ar Kr พบว่าเป็นธาตุที่โมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว คือในหนึ่งโมเลกุลของก๊าซเฉื่อยจะมีเพียง 1 อะตอม แสดงว่าเป็นธาตุที่เสถียรมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจที่จะค้นคว้าถึงเหตุผลที่ทำให้ธาตุเฉื่อยมีความเสถียร  อ่านเพิ่มเติม

อะตอมและแบบจำลองอะตอม

   

แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

          ในปี พ.ศ.2346 จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่งๆ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
          1.  ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ หลายอนุภาคอนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

ตารางธาตุ

 

      เนื่องจากปัจจุบันนักเคมีพบว่า การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุมีส่วนสัมพันธ์กับสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ คือ ถ้าเรียงลำดับธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ตามลักษณะของการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุนั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงจัดตารางธาตุโดยเรียงตามเลขอะตอมจากน้อยไปมาก โดยแบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถวหรือ 18 หมู่ โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่ม A และ B อ่านเพิ่มเติม